ข้อมูล อบต.
ประวัติความเป็นมา
ในอดีตแต่เดิมเป็นที่ว่างเปล่า เป็นพื้นที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน (แม่น้ำนครชัยศรี) ชาวบ้านในหมู่บ้านเป็นคนไทย และคนไทยเชื้อสายจีน เนื่องจากมีชาวจีนโพ้นทะเลอพยพเข้ามาทำการค้า และได้ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ร่วมกับคนไทยจนมีความเกี่ยวดองกันจนเป็นหนึ่งเดียวกับคนในพื้นที่ การประกอบอาชีพของชาวบ้าน คือ การทำการเกษตร และค้าขาย โดยพืชผลทางการเกษตรในสมัยนั้นจะเป็นหมากพลู และผลไม้ตามฤดูกาล ด้วยสภาพพื้นที่ที่มีการทำการเกษตร จึงมีการยกล่องสวน และขุดคลองขึ้นจำนวนมาก เพื่อนำน้ำจากแม่น้ำท่าจีนมาใช้ในการเกษตร และเพื่อความสะดวกในการนำพืชผลทางการเกษตรออกไปจำหน่าย เดิมได้มีชาวมอญสามีภรรยาคู่หนึ่งได้ล่องเรือมาตามลำน้ำพบเห็นที่ว่างเปล่าไม่มีผู้ใดอาศัย จึงได้จอดเรือยึดที่ดินทำมาหากินเจริญรุ่งเรือง เดิมชื่อตำบลท้ายคุ้ง มณฑลนครไชยศรี เนื่องจากเป็นพื้นที่คุ้งน้ำ จนต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรีมาจนถึงปัจจุบัน
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น มีดังนี้ พ.ศ.2483 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นในพื้นที่ ประชาชนมากมายได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว บาดเจ็บ ล้มตายเป็นจำนวนมาก พ.ศ.2485 ในปลายปี พ.ศ. 2485 เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ขึ้น ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนเลวร้ายลงไปอีก ซ้ำสภาพเศรษฐกิจของกินของใช้ก็ขาดแคลนไปแทบทุกอย่าง ทั้งข้าวสาร ยารักษาโรค ราคาข้าวสารถังละ 6 บาท ตามค่าเงินสมัยนั้น แม้จะหาซื้อได้ยากอยู่แล้วก็ยังต้องกักตุนไว้สำหรับกองทัพญี่ปุ่นอีกด้วย ประกอบกับมีพ่อค้าคนไทยบางส่วนได้กักตุนสินค้าไว้เพื่อโก่งราคา ซึ่งเรียกกันว่า "ตลาดมืด" และเรียกพ่อค้าที่ได้ผลประโยชน์ในครั้งนี้ว่า "เศรษฐีสงคราม" เพราะร่ำรวยไปตามๆ กัน จากเหตุนี้ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ไม่มีที่อยู่อาศัย ต้องอพยพไปอยู่ศาลาวัด และบริเวณทางรถไฟ เป็นต้น พ.ศ.2487 หมู่บ้านคลองสวนหมากเกิดโรคระบาดขึ้น อาทิ โรคอหิวาตกโรค ไข้รากสาดใหญ่ ไข้ไทฟอยด์ และโรคฝีดาด ประชาชนหลายหลังคาเรือนล้มป่วยอย่างหนัก ซึ่งไม่มีแพทย์และโรงพยาบาลที่จะช่วยเหลือประชาชนในหมู่บ้าน และพื้นที่ใกล้เคียงได้ ต้องอาศัยแพทย์แผนไทย หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หมอไสยศาสตร์" หรือหมอพระ (หลวงปู่ถาด น้อยต้นวงษ์) ซึ่งเป็นพระภิกษุประจำวัดท่ามอญ หรือวัดไทยาวาสในปัจจุบัน คอยให้การรักษาประชาชนในพื้นที่และชาวเรือที่พายเรือสินค้าผ่านแม่น้ำท่าจีน |
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์
“องค์กรมั่นคง ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนเป็นสุข”
โดยมุ่งเน้นถึงความสำคัญของประชาชนในตำบล ให้เกิดความรัก ความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันในตำบล โดยให้ได้รับความเสมอภาคเท่าเทียมกันในสังคม มีสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียม มีอุดมการณ์ และความคิดเห็นเหมือนกัน เพื่อนำไปสู่การเป็นชุมชนที่เข้มแข็งในที่สุด
พันธกิจ (Mission)
พันธกิจที่ 1 ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการดำรงชีวิตของประชาชน
พันธกิจที่ 2 พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้ทั่วถึงและเพียงพอ
พันธกิจที่ 3 ส่งเสริมและรักษา อนุรักษ์ สืบทอดศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
พันธกิจที่ 4 ส่งเสริมให้ประชาชนรวมกลุ่มประกอบอาชีพ ชมรม หรือสมาคม เพื่อร่วมกันดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนในตำบล
พันธกิจที่ 5 ส่งเสริมให้ชุมชน ประชาชนมีความเข้มแข็ง สงบสุข ครอบครัวที่มีฐานะยากจนได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึงและให้ประชาชนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์แข็งแรง
พันธกิจที่ 6 ส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
|
|
สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ
ที่ตั้งของตำบลไทยาวาส และเขตการปกครอง
ตำบลไทยาวาสเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ภาคกลางด้านตะวันตก ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีนซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 องศา 47 ลิปดา 30
ฟิลิปดา เส้นแวง ที่ 100 องศา 13 ลิปดา 34 ฟิลิปดา มีพื้นที่ 7.53 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,706 ไร่ เท่ากับ ร้อยละ 0.35 ของจังหวัดนครปฐม อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปตามเส้นทาง ถนนเพชรเกษม 34 กิโลเมตร หรือตามเส้นทางถนนบรมราชชนนี(ถนนปิ่นเกล้า – นครชัยศรี) 32 กิโลเมตร และ
ตามเส้นทางรถไฟ 42 กิโลเมตร ตำบลไทยาวาสตั้งอยู่ห่างจากอำเภอนครชัยศรีเป็นระยะทางประมาณ
1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครปฐม ประมาณ 15 กิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลไทยาวาสเต็มพื้นที่
4 หมู่บ้าน
มีอาณาเขต ติดต่อดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำท่าจีน ฝั่งทิศตะวันออก บริเวณพิกัด PR 286264 ไปทางทิศตะวันออกตามทางรถไฟ ถึงบริเวณพิกัด PR 296264 ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ไปทางทิศใต้ตามแนวถนนลาดยางผ่านพิกัด PR 296261
ระยะทางประมาณ 350 เมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวคันนา ผ่านบริเวณพิกัด PR 324256 ระยะทางประมาณ 1.7 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนว คันนา ผ่านคลองวัดท่ามอญ บริเวณพิกัด PR 324258 ระยะทางประมาณ 800 เมตร ไปตามแนว คันนา ถึงเขตติดต่อตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล บริเวณพิกัด PR 339262 ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร เป็นจุดสิ้นสุด รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 5.35 กิโลเมตร
ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล และตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน
โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากถนนทางหลวงสายนครชัยศรี - ศาลายา เขตติดต่อระหว่างตำบลไทยาวาสกับ
ตำบลมหาสวัสดิ์ บริเวณพิกัด PR 339262 ไปทางทิศใต้ตามแนวคันนา ถึงแม่น้ำท่าจีน บริเวณพิกัด PR 341247 ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร เป็นจุดสิ้นสุด รวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 1.5 กิโลเมตร
ทิศใต้ ติดต่อตำบลขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากแม่น้ำท่าจีน บริเวณพิกัด
PR 341247 ไปทางทิศตะวันตกตามแม่น้ำท่าจีน ถึงวัดไทยาวาส บริเวณพิกัด PR 329246 ระยะทางประมาณ 800 เมตร ไปตามแม่น้ำท่าจีนถึงฝั่งตรงข้ามกับปากคลองขุนแก้ว บริเวณพิกัด PR 302243 ระยะทางประมาณ 2.7 กิโลเมตร เป็นจุดสิ้นสุด รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลนครชัยศรี และตำบลวัดแค อำเภอนครชัยศรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจาก
ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ฝั่งตรงข้ามกับปากคลองขุนแก้ว บริเวณพิกัด PR 302243 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามแม่น้ำท่าจีน ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน บริเวณพิกัด PR 298247 ระยะทางประมาณ 900 เมตร ไปตามแม่น้ำท่าจีน ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน (สะพานรวมเมฆ) บริเวณพิกัด PR 288258 ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือ ตามแม่น้ำท่าจีนถึงสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำท่าจีน
บริเวณพิกัด PR 286264 ระยะทางประมาณ 600 เมตร เป็นจุดสิ้นสุดรวมระยะทางด้านทิศตะวันตก
ประมาณ 2.5 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศตำบลไทยาวาสเป็นที่ราบลุ่มดินตระกอน ไม่มีภูเขาและป่าไม้ มีแม่น้ำท่าจีน
ไหลผ่านจากทิศเหนือไปสู่ทิศใต้ ไหลผ่านทิศตะวันตกของตำบล ซึ่งเป็นแนวเขตแดนระหว่างตำบล
ไทยาวาส ตำบลขุนแก้ว ตำบลนครชัยศรี และแนวติดต่ออำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่มถึงลุ่มที่สุด ทำให้เกิดน้ำท่วมในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคมเป็นประจำทุกปี พื้นที่ตำบลไทยาวาสเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน มีคลองธรรมชาติคลองส่งน้ำไหลผ่านหลายสาย จำนวน 51 คลอง มีผลทำให้พื้นที่ของตำบลไทยาวาสเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศของตำบลไทยาวาส ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือ ลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะพัดพามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ทำให้ตำบลไทยาวาสมีอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป กับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะพัดพามวลอากาศชื้นจากทะเลและมหาสมุทรปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝน
ทำให้ตำบลไทยาวาสมีฝนตกทั่วไป
ฤดูกาล
พิจารณาตามลักษณะลมฟูาอากาศของประเทศไทย แบ่งฤดูกาลของจังหวัดนครปฐม
ออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้
(1) ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่มีคุณสมบัติเย็นและแห้งจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย แต่เนื่องจากจังหวัดนครปฐมอยู่ในภาคกลางอิทธิพลของบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมในช่วงฤดูหนาวจะช้ากว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีอากาศหนาวเย็นช้ากว่าสองภาคดังกล่าว โดยเริ่มมีอากาศหนาวประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน
เป็นต้นไปและเดือนที่มีอากาศหนาวที่สุดคือเดือนธันวาคม
(2) ฤดูร้อน เริ่มเมื่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือสิ้นสุดลงคือประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ในระยะนี้จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยเดือนเมษายน เป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุดในรอบปี
(3) ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณภาคกลางและภาคเหนือเป็นลำดับในระยะนี้ ทำให้มีฝนตกชุกขึ้นตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยเดือนที่มีฝนตกชุกมากที่สุดในรอบปีและเป็นช่วงที่มีความชื้นสูงคือ
เดือนกันยายน
อุณหภูมิ
เนื่องจากตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมอยู่ในภาคกลางซึ่งลึกเข้ามาในแผ่นดิน จึงมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงเกือบตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ระหว่าง 28 - 30 องศาเซลเซียส
ในฤดูร้อนอากาศร้อนอบอ้าว อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32 - 34 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนที่สุดอยู่
ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเคยตรวจอุณหภูมิสูงที่สุดได้ 40.2 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 ส่วนในฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23.3 องศาเซลเซียส
โดยมีอากาศหนาวที่สุดอยู่ในเดือนธันวาคม ซึ่งเคยตรวจอุณหภูมิต่ำที่สุดได้ 10.3 องศาเซลเซียส
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2552
ปริมาณน้ำฝน
จากสถิติข้อมูลปริมาณน้ำฝนของจังหวัดนครปฐม โดยใช้ข้อมูลของสถานีอุตุนิยมวิทยานครปฐม ปริมาณน้ำฝนจะอยู่ในช่วง 1,000 - 1,300 มิลลิเมตร ฝนตกมากที่สุด ปี 2554 วัดได้ 1,295.5 มิลลิเมตร จำนวนวันที่ฝนตก 111 วัน ส่วนฝนตกน้อยที่สุดในปี 2551 วัดได้ 1,023.4 มิลลิเมตร จำนวนวันที่ฝนตก 118 วัน
ลักษณะของดิน
ลักษณะของดินในพื้นที่ตำบลไทยาวาสเป็นลักษณะดินตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบ ตะกอนน้ำพา หรือตะพักลำน้ำ เป็นดินลึก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทรายแปูง หรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาลเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.0-6.5)
ดินบนตอนล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลแก่ หรือสีน้ำตาลปนเหลืองในดินบนและดินล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง (pH 6.5-8.0) ดินล่างตอนล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลปนเทาเข้มถึงน้ำตาลเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลปนเหลือง และจะพบมวลก้อนกลมของเหล็กและแมงกานีสปะปนอยู่ พบมวลก้อนกลมของปูนในดินล่าง
ในระดับความลึก 80 ซม. จากผิวดินลงไป ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0)
ลักษณะของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำสำคัญของตำบลไทยาวาส เพื่อการเกษตร ใช้น้ำทั้งจากผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดิน
แหล่งน้ำบนผิวดินเป็นน้ำจากคลอง หนอง,บึง ตำบลไทยาวาสได้รับน้ำเพื่อทำการเกษตร ดังนี้
จากแหล่งน้ำธรรมชาติร้อยละ 65.11 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด
จากบ่อบาดาลร้อยละ 34.89 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด
|
การเมืองการปกครอง
เขตการปกครอง
เขตการปกครององค์การบริหารส่วนต าบลไทยาวาส ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบขององค์การ
บริหารส่วนตำบลไทยาวาส แบ่งการปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านท่าตลาด (บ้านปากน้ า)
หมู่ที่ 2 บ้านท้ายคุ้ง
หมู่ที่ 3 บ้านคลองสวนหมาก
หมู่ที่ 4 บ้านท่ามอญ
(ที่มา : องค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาส ณ เดือนพฤษภาคม 2562)
การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาส
ทั้งเขตตำบลเป็น 1 เขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาออกเป็น 4 เขต ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1 หมู่ที่ 1 บ้านท่าตลาด
เขตเลือกตั้งที่ 2 หมู่ที่ 2 บ้านท้ายคุ้ง
เขตเลือกตั้งที่ 3 หมู่ที่ 3 บ้านคลองสวนหมาก
เขตเลือกตั้งที่ 4 หมู่ที่ 4 บ้านท่ามอญ
โครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารของตำบลไทยาวาส
1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบลฯ ทำหน้าที่เป็นฝุายนิติบัญญัติและควบคุมฝุายบริหาร
ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้ง จำนวน 8 คน จากจำนวน 4 หมู่บ้าน ๆ ละ 2 คน
และ เลขานุการสภา อบต.
2. คณะผู้บริหาร ทำหน้าที่บริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามกฎหมาย ประกอบด้วย
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน และรองนายกฯ 2 คน และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน
|
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
ด้านการเกษตร
ประชากรในเขตตำบลไทยาวาส ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตร
ที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ส้มโอ ผักสวนครัว เป็นต้น
ด้านการประมง
ประชากรในเขตตำบลไทยาวาส ประกอบอาชีพเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เป็นต้น
ด้านการปศุสัตว์
ประชากรในเขตตำบลไทยาวาส ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ เป็นต้น
ด้านการบริการ
- โรงแรม จำนวน 1 แห่ง
- โฮมสเตย์ จำนวน 3 แห่ง
- ร้านจำหน่ายอาหาร จำนวน 16 แห่ง
- โรงพยาบาล จำนวน 1 แห่ง
ด้านการท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาสที่สำคัญ คือ เส้นทางปั่นจักรยานตำบลไทยาวาส สักการะองค์หลวงพ่อโตอายุราว 880 ปี หลวงพ่อย้อยวัดไทยาวาส (ท่ามอญ) เรือนเครือวัลย์ศุขอาศรม ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวัดไทยาวาส และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียงและสามารถใช้เส้นทางในเขตตำบลไทยาวาสผ่านไปยังแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่
1. องค์พระปฐมเจดีย์
2. พระราชวังสนามจันทร์
3. ตลาดน้ำดอนหวาย
4. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง
5. พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
6. เจษฎาเทคนิคมิวเซียม
7. ตลาดท่านา ฯลฯ
ด้านการอุตสาหกรรม
ปัจจุบันในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาสได้มีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ มีการดำเนินการด้านอุตสาหกรรม มีทั้งโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จำนวนแรงงานส่วนมากเป็นประชากรแฝง คือแรงงานที่เข้ามาท างานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานที่อื่นๆ
โดยไม่มีการแจ้งย้ายเข้า
จำนวนสถานประกอบการอุตสาหกรรมในเขตตำบลไทยาวาส จำแนกตามกิจการที่เป็นอันตราย
ต่อสุขภาพ
1. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม จำนวน 4 แห่ง
2. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (สวนกล้วยไม้) จำนวน 3 แห่ง
3. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ จำนวน 3 แห่ง
4. กิจการอื่นๆ จำนวน 2 แห่ง
การพาณิชย์
1) สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม
- สถานีจำหน่ายเชื้อเพลิง จำนวน 2 แห่ง
- ร้านค้าทั่วไป จำนวน 15 แห่ง
2) สถานประกอบการพาณิชย์
- สถานธนานุบาล จำนวน - แห่ง
- โรงฆ่าสัตว์ จำนวน - แห่ง
3) สถานประกอบการด้านบริการ
- โรงแรม จำนวน 3 แห่ง
- ร้านจำหน่ายอาหาร จำนวน 8 แห่ง
- โรงพยาบาล จำนวน 1 แห่ง
4) โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 15 แห่ง
กลุ่มอาชีพ
ตำบลไทยาวาสมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน สินค้าทางการเกษตรในพื้นที่เพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยกลุ่มอาชีพที่มีการจัดตั้งของตำบลไทยาวาสมีอยู่ 2 กลุ่มอาชีพ ดังนี้
- กลุ่มสตรี จำนวนสมาชิก 88 คน
- กลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จำนวนสมาชิก 120 คน
ด้านแรงงาน
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/อิสระ เนื่องจากในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาสมีโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง ทำให้ประชากรบางส่วนได้ประกอบอาชีพรับจ้างตามสถานประกอบการต่างๆ รองลงมาคือประกอบอาชีพพนักงานห้างร้าน/บริษัทเอกชน และประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวนส้มโอ ปลูกพืชผักสวนครัว
สภาพทางสังคม
สาธารณสุข
มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทยาวาส จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ 3 มีจำนวนบุคลากรในสังกัด จำนวน 4 คน ข้าราชการ 2 คน และลูกจ้างเงินบำรุง จำนวน 1 คน กิจกรรม สาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทยาวาส แบ่งเป็นประเภทงาน ได้ดังนี้
(1) งานรักษาพยาบาล
(2) งานส่งเสริมสุขภาพ
- งานวางแผนครอบครัว
- งานอนามัยแม่และเด็ก
- งานส่งเสริมวัยเด็ก
- งานส่งเสริมวัยทำงาน
- งานส่งเสริมวัยเจริญพันธ์
- งานส่งเสริมผู้สูงอายุ
(3) งานโภชนาการ
(4) จำนวนผู้พิการ จำนวน 97 คน
(5) งานอนามัยโรงเรียน
(6) งานควบคุมโรคติดต่อ
- งานโรคเอดส์
- งานระบาดวิทยา
- งานวัณโรค
(7) งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
- การให้วัคซีนในเด็ก
- การฉีดวัคซีนปูองกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
- การฉีดวัคซีนปูองกันโรคคอตีบและบาดทะยัก
(8) งานสุขศึกษาประชาสัมพันธ์
(9) งานทันตกรรม
(10) งานควบคุมปูองกันโรคไม่ติดต่อ
- งานเบาหวาน ความดัน
- งานมะเร็งปากมดลูกและเต้านม
อาชญากรรม
ตำบลไทยาวาสอยู่ในความดูแล และรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรอำเภอนครชัยศรี
ตำบลไทยาวาสไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน และทำลาย
ทรัพย์สินของราชการ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ดำเนินการปูองกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ส่วนมากครัวเรือนมีการปูองกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน วิธีการแก้ปัญหาของตำบลไทยาวาสที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และ
งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด คือการติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่เป็นที่สาธารณะ ติดตั้งสัญญาณไฟ
กระพริบทางร่วมทางแยก รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำ คือ การทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก
การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึง
ผลกระทบ ผลเสียหาย และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ ผู้นำ อปพร. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุ่นแรง แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝุาย เป็นเรื่องที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้
ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในชุมชน ตำบลไทยาวาสยังมีผู้ค้า และผู้เสพอยู่ในช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน
แต่ไม่มากเท่าที่ควร การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี
การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ปุวยเอดส์
2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
4. ตั้งโครงการการจ้างนักเรียน/นักศึกษาทำงานช่วงปิดภาคเรียน
5. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
6. ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านผู้ยากไร้
องค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาสได้ส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้สูงอายุ
ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้ปุวยเอดส์ โดยสนับสนุนให้ได้รับเบี้ยยังชีพต่อ/คน/เดือน ดังนี้
- ผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น 631 คน โดยจำแนกได้ดังนี้
อายุ 60 – 69 ปี จำนวน 353 คน ได้รับเบี้ยยังชีพ 600 บาท/คน/เดือน
อายุ 70 – 79 ปี จำนวน 174 คน ได้รับเบี้ยยังชีพ 700 บาท/คน/เดือน
อายุ 80 – 89 ปี จำนวน 83 คน ได้รับเบี้ยยังชีพ 800 บาท/คน/เดือน
อายุ 90 ปี ขึ้นไป จำนวน 21 คน ได้รับเบี้ยยังชีพ 1,000 บาท/คน/เดือน
- คนพิการ จำนวน 97 คน ได้รับเบี้ยยังชีพ 800 บาท/คน/เดือน (มีจำนวน 39 คน
ที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุควบคู่)
- ผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 2 คน ได้รับเบี้ยยังชีพ 500 บาท/คน/เดือน
นอกจากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาสได้ส่งเสริม และให้ความช่วยเหลือประชาชน
ที่ประสบสาธารณภัยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตามความเหมาะสม รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรม
ของชุมชนด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ สนับสนุนครุภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ และอื่นๆ ตามแผนงาน /
โครงการ กิจกรรมที่ชุมชนร้องขอเพื่อพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
|
สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
การศึกษา
องค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาส มีสถานศึกษาในเขตพื้นที่ จำนวน 3 แห่ง ดังนี้
1. โรงเรียนวัดไทยาวาส (นิลดำพิทยานุสรณ์) สถานศึกษาของรัฐ มีเด็กนักเรียนจำนวน 114 คน
2. โรงเรียนจารุวรรณ สถานศึกษาของเอกชน มีเด็กนักเรียนจำนวน 470 คน
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาส จำนวน 1 แห่ง มีเด็กเล็ก
จำนวน 22 คน และผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 1 คน นักการภารโรง จำนวน 1 คน
ศาสนา
ประชาชนตำบลไทยาวาสส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และมีวัดจำนวน
1 แห่ง คือ วัดไทยาวาส (ท่ามอญ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านท่ามอญ
ประเพณีและงานประจำปี
(1) งานปิดทองหลวงพ่อโตหลวงพ่อย้อย วัดไทยาวาส จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 5
ถึงวันแรม 4 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี เป็นงานเทศกาลปิดทองหลวงพ่อโต หลวงพ่อย้อยอันเป็น
ที่เคารพบูชาของท้องถิ่น มีมหรสพและจำหน่ายสิ้นค้าพื้นเมือง
(2) งานประเพณีสงกรานต์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 17 เมษายน ของทุกปี บริเวณองค์การ
บริหารส่วนตำบลไทยาวาส และวัดไทยาวาส มีการทำบุญสรงน้ำพระพุทธรูป ก่อพระเจดีย์ทราย
มีการละเล่นพื้นเมือง นมัสการหลวงพ่อโต หลวงพ่อย้อย
(3) งานลอยกระทง จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟู
และอนุรักษ์ ประเพณีไทย ภายในงานจัดให้มีการประกวดกระทง โคมแขวนและนางนพมาศ นอกจากนี้
ยังมีมหรสพต่างๆ เช่น ดนตรี การแสดงของเด็ก และเยาวชนตำบลไทยาวาส การจุดพลุดอกไม้ไฟ และการแสดงดนตรีไทย เพื่อเป็นงานรื่นเริงประจำปีอีกทางหนึ่ง
(4) งานหล่อเทียนพรรษา จัดขึ้นประจำทุกปี ประมาณเดือนกรกฎาคม โดยมีกิจกรรมหล่อเทียน
จำนำพรรษาถวายวัดไทยาวาส
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในตำบลไทยาวาสได้อนุลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่
การอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านด้านดนตรีไทยดั้งเดิมที่ยังคงมีอยู่ปัจจุบัน ภาษาถิ่น
ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษากลาง
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ประชาชนในพื้นที่ตำบลไทยาวาสมีผลไม้ขึ้นชื่อ ส้มโอนครชัยศรีที่เป็นสินค้าของที่ระลึก
ประกอบด้วย พันธุ์ทองดี และพันธุ์สายน้ำผึ้งที่ขึ้นชื่อ และมีชื่อเสียงระดับประเทศ และมีการส่งออก
ไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
|
การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ
การบริการพื้นที่
การคมนาคมขนส่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาสอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครปฐม ประมาณ 15 กิโลเมตร มีเส้นทาง
คมนาคม 2 ทาง คือ ทางบก และทางน้ำ ปัจจุบันใช้ทางบกเป็นส่วนใหญ่ เพราะสะดวกรวดเร็ว
การคมนาคมติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ มีถนนลาดยางถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนหินคลุก
ถนนลูกรังเชื่อมโยงติดต่อกันทั่วทั้งตำบล สามารถเดินทางได้โดยสะดวก มีเส้นทางรถประจำทาง
จากกรุงเทพฯ – จังหวัดนครปฐม โดยอำเภอนครชัยศรีเป็นอำเภอที่เป็นเส้นทางผ่านเข้าสู่ตัวจังหวัดนครปฐม ทำให้การเดินทางสะดวก และมีรถประจำทางจากตำบลไทยาวาส - จังหวัดนครปฐม
โดยมีถนนสายหลักที่ใช้ในการคมนาคม / ขนส่ง คือ ถนนนครชัยศรี – ศาลายา (ทางหลวงชนบท หมายเลข นฐ 4006) และถนนนครชัยศรี – พุทธมณฑล สาย 7 (ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3235)
การไฟฟ้า
การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือไฟฟ้า
ส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่ที่มี
ความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ องค์การบริหารส่วนตำบลจึงไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับถนน การแก้ปัญหาคือ ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลได้ตั้งงบประมาณในการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน
ได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน
การประปา
องค์การบริหารส่วนตำบลมีกิจการประปาสามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ปัญหาคือ มีข้อร้องเรียนเรื่องน้ำประปาขุ่นบ่อยครั้ง สาเหตุเนื่องจากเป็นท่อประปาเก่าเกิดการตกตะกอนของน้ำ ประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่สามารถที่จะผลิตเป็นน้ำประปาสำหรับบริโภคได้ ต้องใช้งบประมาณสูงในการดำเนินการ ปัจจุบันตำบลไทยาวาสยังไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสามารถที่จะจัดหาน้ำดิบสำหรับผลิตประปาให้ชุมชนได้ การแก้ปัญหา
คือ การลงพื้นที่ดำเนินการแก้ไขตามจุดที่เกิดปัญหาในทันที องค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาส
ได้จัดหาให้บริการน้ำเพื่อการอุปโภคระบบหอถังประปา จำนวน 16 แห่ง ขนาดความจุรวมทั้งสิ้น 319 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งครัวเรือนที่มีน้ำประปาใช้มีจำนวน 1,117 ครัวเรือน โดยแยกได้ดังนี้
- หมู่ที่ 1 จำนวน 4 แห่ง ขนาดความจุ 77 ลูกบาศก์เมตร
- หมู่ที่ 2 จำนวน 3 แห่ง ขนาดความจุ 74 ลูกบาศก์เมตร
- หมู่ที่ 3 จำนวน 4 แห่ง ขนาดความจุ 90 ลูกบาศก์เมตร
- หมู่ที่ 4 จำนวน 4 แห่ง ขนาดความจุ 78 ลูกบาศก์เมตร
(ที่มา : กองช่าง องค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาส ประจำปีงบประมาณ 2562)
ไปรษณีย์ หรือการสื่อสาร หรือการขนส่ง และวัสดุครุภัณฑ์
พื้นที่ตำบลไทยาวาสมีตู้ไปรษณีย์ จำนวน 2 แห่ง การสื่อสารและการนำเสนอข้อมูลขององค์การบริหารส่วนตำบลจากบอร์ดประชาสัมพันธ์ อีกทั้งยังมีเว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาส
www.thaiyawas.go.th เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้กับประชากรในเขตตำบลไทยาวาส และบุคคลทั่วไปได้รับทราบข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง และมีระบบประชาสัมพันธ์เสียงไร้สายครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
ทรัพยากรธรรมชาติ
แหล่งน้ำ
น้ำที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำดิบจากแม่น้ำท่าจีน ซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการของระบบประปา สำหรับน้ำใต้ดินมีปริมาณน้อย ไม่สามารถนำขึ้นมาใช้ให้พอเพียงได้ และบางแห่งเค็ม ไม่สามารถใช้ดื่มและอุปโภคได้
คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
ในพื้นที่ของตำบลไทยาวาสส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า สถานประกอบการ ตามลำดับ และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศมีมลพิษบ้างในบางพื้นที่ ปัญหาคือ เนื่องจากว่าพื้นที่บางส่วนเป็นดินเค็ม น้ำใต้ดินก็เค็ม หรือไม่ก็เป็นน้ำกร่อย ไม่สามารถที่จะนำน้ำจากใต้ดินมาใช้ในการอุปโภค-บริโภคได้ได้ ต้องอาศัยน้ำดิบจากแหล่งอื่น และน้ำฝน ปัญหาด้านขยะ เมื่อชุมชนขยายตัวมากยิ่งขึ้น ปัญหาขยะก็มากขึ้นตามลำดับ การแก้ไขปัญหา องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชนและเป็นไปตามความต้องการของประชาชน เช่น โครงการจัดหาถังขยะรองรับขยะให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ โครงการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญต่างๆ ในพื้นที่ของตนเองและที่สาธารณะรวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้เป็นเมืองน่าอยู่ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ฯลฯ
|
• การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
• ตรวจสอบภายใน
• แผนการตรวจสอบภายใน
• รายงานการตรวจสอบภายใน
• งานควบคุมภายใน
• การบริหารความเสี่ยง
• การปฏิบัติงาน
• คู่มือการปฏิบัติงาน
• มาตรฐานการปฏิบัติงาน
• ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
• การให้บริการ
• คู่มือการให้บริการ
• มาตรฐานการให้บริการ
• สถิติการให้บริการ
• ผลสำรวจความพึงพอใจในการให้บริการ